
อากุสตินาต้องสูญเสียลูกสาวเพียงคนเดียวไปด้วยอาการไตวายหลังให้กินยาน้ำเชื่อมแก้ไอที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล
ข่าวเด็ก ตอนที่หนูน้อยนาดีราล้มป่วยด้วยอาการไอและไข้หวัดใหญ่ อากุสตินา มาอูลานี ผู้เป็นแม่ได้ซื้อยาน้ำเชื่อมแก้ไอที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอลให้เธอจากศูนย์อนามัยแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตาอากุสตินาเล่าให้บีบีซีฟังว่า “ฉันให้ลูกกินยาทุก 4 ชั่วโมง เพราะไข้ของเธอไม่ยอมลด แม้ลูกจะมีอาการดีขึ้น แต่ไข้ก็กลับมาอีก ท้ายที่สุดลูกก็หยุดถ่ายปัสสาวะ”หลังจากนั้น นาดีราถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่อาการไม่ดีขึ้น ผลตรวจค่าไตจากห้องแล็บบ่งชี้ว่าเธอมีระดับสารยูเรียและครีอาตินีนสูงเกินค่ามาตรฐาน สารทั้งสองชนิดเป็นของเสียที่สะสมในร่างกายเมื่อไตหยุดทำงาน”ในที่สุดลูกก็เสียชีวิตลงอย่างรวดเร็ว และความเจ็บปวดทรมานนั้นก็น่าตกใจมาก” อากุสตินาเล่าให้บีบีซีฟังพร้อมน้ำตาพ่อแม่ใจสลาย หลังลูกเสียชีวิตเพราะกลืนถ่านใส่ของเล่นลงคอ ทำไมโรงเรียนควรสอนเด็กเล็กเอาชีวิตรอดจากการติดในรถ หลังเกิดเหตุสลดซ้ำซาก MIS-C อาการป่วยที่พบในเด็กหลังหายจากโควิดในหลายประเทศ อินโดนีเซียกำลังเผชิญคลื่นการเสียชีวิตที่น่าตกใจของเด็กอย่างน้อย 157 คน ที่เสียชีวิตไปในปีนี้ด้วยภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury) และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ โดยเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการใช้ยาที่มีสารปนเปื้อน โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุไม่ถึง 5 ขวบ
บรรดาร้านขายยาทั่วอินโดนีเซียต่างเก็บผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกจากชั้นจำหน่ายสินค้า พร้อมแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองบดยาเม็ดให้ลูกหลานที่ล้มป่วยและจำเป็นต้องกินยา
ข่าวเด็ก นายบูดี กุนาดี ซาดีคิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียระบุว่า จากการตรวจสอบเด็กที่เสียชีวิตกลุ่มนี้พบว่าร่างกายมีสารอันตราย เช่น เอทิลีนไกลคอล, ไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอล บิวทิว อีเทอร์สารไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอลนั้น มักใช้เป็นส่วนผสมของสารป้องกันการเกิดน้ำแข็งในเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น รวมทั้งเป็นตัวทำละลายในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง แต่เป็นการใช้ในระดับความเข้มข้นที่ต่ำมาก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ระบุว่า ต้องไม่นำสารเหล่านี้มาใช้เป็นส่วนผสมในยากรณีที่พบในอินโดนีเซียเกิดขึ้นหลังจากมีรายงานการเสียชีวิตของเด็กเกือบ 70 คนในประเทศแกมเบีย โดย WHO ระบุว่า ตรวจพบปริมาณที่สูงเกินจะยอมรับได้ของสารไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอลในยาน้ำเชื่อมแก้ไอผลิตในอินเดียที่ส่งไปขายในแกมเบียขณะนี้ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่ากรณีที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศมีความเกี่ยวข้องกัน โดยทางการอินเดียและบริษัทไมเดนฟาร์มาซูติคอลส์ ระบุว่ายาน้ำเชื่อมแก้ไอ 4 ชนิดที่มีปัญหานั้นส่งไปจำหน่ายที่แกมเบียเพียงประเทศเดียว ขณะที่ทางการอินโดนีเซียระบุว่า ยาน้ำเชื่อมแก้ไอที่วางขายในประเทศไม่ได้นำเข้าจากอินเดีย
แนะนำข่าวธุระกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : คลิปหลุดมูลนิธิดังทำร้ายเด็ก “ครูยุ่น” อ้างแค่ลงโทษ ล่าสุดเด็กขอลาออกเกินครึ่ง