เร่งฟื้นฟู “เด็ก” เติบโตช่วงโควิด-19 ก่อนจะสาย

เร่งฟื้นฟู เด็ก เติบโตช่วงโควิด-19 ก่อนจะสาย

“เด็กที่เติบโตในช่วงโควิด-19 จะเป็นเหมือนหลุม เทียบกับรุ่นพี่-รุ่นน้องไม่ได้ หากไม่เร่งแก้ปัญหา ภาพรวมการพัฒนาประเทศจะถดถอยตาม

การศึกษา หากไม่ทำอะไรการเรียนรู้ถดถอยไปเรื่อย ๆ การแก้ปัญหาจึงต้องทำแบบวิ่งมาราธอน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง กล่าวเจ้าวายร้ายไวรัสโควิด-19 ได้ทิ้งบาดแผลให้ “เด็ก” ที่เติบโตมาในช่วงการแพร่ระบาดอย่างหนักมากว่า 2 ปี จากการสำรวจของสารพัดสำนักที่ทำการศึกษาวิจัยการศึกษาของเด็กในกลุ่มนี้ ส่วนมากอยู่ในวัยเด็กเล็ก หรือ เด็กอนุบาล เด็กปฐมวัย รวมทั้ง เด็กชั้นประถมต้นพบว่า “เด็ก” กลุ่มนี้พัฒนาล่าช้าทั้งด้านภาษาและกล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง เด็กมากกว่าร้อยละ50 จับดินสอผิดวิธี อีกทั้งพบว่ามีแรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในวัยเดียวกัน เด็กบางคนขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง จนถึงขั้นไม่กล้าไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน

เร่งฟื้นฟู เด็ก เติบโตช่วงโควิด-19 ก่อนจะสาย

“เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 0-5ปี ต้องมีพัฒนาการที่สมวัยอยู่ในระดับร้อยละ 85 แต่ผลสำรวจพบว่าเด็กไทย1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 มีพัฒนาการไม่สมวัย

มีนิ้วที่แข็งแรงเหลืออยู่เพียงนิ้วเดียว คือนิ้วชี้ที่เด็กใช้ในการเลื่อนหน้าจอสมาร์ทโฟน”นพ.ธีรชัย บุญยะลีพรรณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุผศ.พรพิมล คีรีรัตน์ โค้ชโครงงานฐานวิจัย (ป.4-ม.3) โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่(มอ.วิทยาเขตหาดใหญ่) ระบุว่า แรงบีบมือของเด็กที่อยู่เกณฑ์ปกติ จะอยู่ที่ 19 กิโลกรัม แต่หลังลงสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน 6 จังหวัดภาคใต้ โดยใช้เครื่องวัดแรงบีบมือทดสอบวัดสมรรถภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1,918 คน จาก 74 โรงเรียน ใน 6 จังหวัด คือ สตูล ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส พบ 98% ของเด็กๆ แรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กวัยเดียวกัน ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ 19 กิโลกรัม หากไม่เร่งพัฒนาอาจจะสูญเสียโอกาสการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ หากปล่อยไป จะยิ่งเกิดปัญหาซับซ้อนในช่วงวัยนี้มากขึ้น โดยมีความหวังให้โรงเรียนนำร่อง ขยายผลไปสู่เพื่อนครูด้วยกัน เพื่อชวยกันแก้ปัญหาเด็กพัฒนาถดถอยอย่างต่อเนื่องจากการทดสอบมีเด็กผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 1.19 จึงได้ริเริ่มโครงการ PSU ครูรักศิษย์ ครั้งที่ 7 ‘การพัฒนาฐานกาย’ หนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการคือ โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ดูแลโครงการโดย ครูนก จรรยารักษ์ สมัตถะ หลังการฟื้นฟูต่อเนื่อง พบค่าแรงบีบมือเด็กมากขึ้น 0.5-2 กิโลกรัมในเวลาเพียงเดือนเดียวเท่านั้น

แนะนำข่าวธุระกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  ศธจ.สมุทรสาคร นำนวัตกรรมปรับการเรียนการสอน แก้ปัญหาภาวะความรู้ถดถอย