เสียงสะท้อนภาคประชาชน หลังสธ.ห้ามจ่าย PrEP – PEP ลดการติดเชื้อเอชไอวี ทำเกิดสุญญากาศการเข้าถึงยา

เสียงสะท้อน 21

ไทยประกาศต่อนานาชาติว่าจะยุติเอดส์ให้ได้ภายในปี 2573 แต่ก็เกิดปัญหาความไม่ชัดเจนของนโยบายการยุติปัญหาเอดส์ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส่งผลให้เกิดสุญญากาศในการรับบริการ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศห้ามภาคประชาชนแจกยา PrEP และยา PEP

ข่าวสุขภาพ ทำให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเกิดความสับสนในการเข้าถึงสิทธิในระบบบริการสุขภาพ ผู้ถือบัตรทองสามารถรับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิ แต่ไม่ครอบคลุมผู้มีสิทธิประกันสังคม ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ “ผมใช้สิทธิประกันสังคม ผมรับ PrEP ไม่ได้ ผมตรวจ HIV ไม่ได้ ต้องเสียเงิน แต่ถ้าผมติดแล้วเข้าสู่การรักษาพยาบาลได้ หมายความว่า ต้องติดก่อนถึงจะได้รับบริการใช่หรือไม่”นี่คือเสียงสะท้อนของผู้ใช้บริการยาเพร็ป (Pre-Exposure Prophylaxis หรือ PrEP) จากคลินิกชุมชน (SWING) ที่ต้องการให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบคำถาม หลังมีประกาศกรมสนับสนุนการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการจัดบริการยา PrEP และประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ให้การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ครอบคลุมเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส่งผลให้ภาคประชาชนต้องหยุดจ่ายยาเพร็พ (PrEP : ยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี) และยาเป๊ป (PEP : ยาป้องกันหลังสัมผัสเชื้อเอชไอวี)ชโยดม สมบัติ คือหนึ่งในผู้ใช้บริการคลินิกชุมชน เล่าว่า เขารับยา PrEP ที่คลินิกชุมชนมานานกว่า 10 ปี เขาเป็นพนักงานบริษัทที่ใช้สิทธิประกันสังคม หากไม่สามารถไปใช้บริการที่ SWING ได้ ก็ต้องไปดูว่าประกันสังคมสามารถตรวจเอชไอวีและรับยา PrEP ได้ไหม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วประกันสังคมมุ่งเน้นเรื่องการรักษาพยาบาล ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการป้องกัน จึงกลายเป็นว่าถ้ามีสิทธิประกันสังคม ต้องการอยากตรวจเอชไอวี หรืออยากรับ PrEP จะต้องจ่ายเงินเอง นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นชโยดม กล่าวว่า การให้บริการยา PrEP เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องให้กับทุกคน แต่เมื่อประชาชนจะไปรับบริการยา PrEP ที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมไม่ได้ ไม่มี นั่นหมายความว่า รัฐกำลังผลักภาระไปให้ประชาชนในการจัดหาเครื่องมือในการป้องกันตัวเอง ซึ่งการป้องกันตัวเองของเขาก็คือ การป้องกันสังคม เป็นการผลักภาระให้เขาต้องไปซื้อยากินเองจากคลินิกเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชน ถามว่าตรงนี้มีใครได้ประโยชน์เปล่าภาครัฐไม่พร้อมและไม่มีความชัดเจนในการให้บริการ

เสียงสะท้อน 21

ด้านสุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) องค์กรชุมชนที่ดำเนินงานในการส่งเสริมสิทธิและโอกาสในการเข้าถึงสุขภาพของพนักงานบริการ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มเปราะบางอื่นๆ

ข่าวสุขภาพ เปิดเผยถึงสาระสำคัญในประกาศคณะกรรมการ สปสช. ว่าการจัดบริการยา PrEP นั้นจะต้องให้บริการโดยแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ และเภสัชกรในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น แต่เราเป็นอาสาสมัครภาคประชาชน เป็นเพียงแค่ผู้อำนวยความสะดวกที่จะส่งผู้รับบริการไปพบแพทย์ และเภสัชกร ช่วยส่งยาให้เท่านั้น เมื่อมีประกาศนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ยุติการให้บริการ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำผิดกฎหมาย ซึ่งมันจะส่งผลกระทบอย่างมโหฬารเพราะจากสถิติมารับบริการในคลินิกของ SWING เฉพาะในกรุงเทพฯ 2 แห่ง คือที่สีลมและสะพานควาย ปี 2565 มีผู้มารับยา PrEP ทั้งหมด 5,625 คน ถ้าต้องหยุดให้บริการวันสุดท้าย (9 ม.ค. 2566) แล้วผู้ใช้บริการทั้ง 5,625 คนจะไปใช้บริการที่ไหน รัฐบาลเตรียมเรื่องยาต้านเอชไอวีไว้รอได้เลย เชื่อว่าอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจะเพิ่มขึ้นแน่นอน เตรียมพร้อมไหมถ้าเราป้องกันได้ ก็จะลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยได้ดี ซึ่งตั้งแต่การมียา PrEP ก็เห็นว่าอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยลดลง โดยเฉพาะอัตราการติดเชื้อในกลุ่มผู้ค้าบริการทางเพศผู้ชายที่พบการติดเชื้อเกือบจะ 20% พอมียา PrEP เข้ามา การติดเชื้อกดลงไม่ถึง 10% รวมถึงกลุ่มเกย์ กลุ่มสาวประเภทสองด้วย นั่นแสดงว่ายา PrEP ช่วยได้จริงๆ” ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ กล่าวในปี 2565 มีผู้มารับบริการยา PrEP เฉพาะในกรุงเทพฯ มีจำนวน 2,667 คน เป็นการกินยา PrEP ครั้งแรกในชีวิตและกินอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่าทางเลือกที่ดี ช่วยทำให้เกิดความปลอดภัยได้ ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยทั่วโลกหรือแม้แต่ในประเทศไทยก็บอกแล้ว มันสามารถป้องกันเอชไอวีได้เกือบ 100%คำถามที่ตามมาคือ รัฐมีการเตรียมความพร้อมไว้แค่ไหนในการจัดหน่วยบริการ บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับมือไหวไหม SWING เคยส่งคนไปโรงพยาบาลในต่างจังหวัด ทางโรงพยาบาลแจ้งมาว่า เราสามารถส่งผู้รับบริการไปได้แค่เดือนละ 2 คน นั่นหมายความว่า เราจะทำยังไงที่จะให้คนที่ไม่สามารถมารับบริการที่เราได้ไปรับบริการในโรงพยาบาลของรัฐได้ ถ้ามีผู้ต้องการรับบริการ 5 คน แต่โรงพยาบาลรับได้แค่ 2 คน แล้วเมื่อไรจะครอบคลุม เมื่อไรที่เราจะเข้าถึงเครื่องมือการป้องกันเอชไอวีได้อย่างทันท่วงทีสุรางค์ ระบุว่า สปสช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจนว่า พลเมืองไทยสามารถไปใช้สิทธิของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอะไรบ้าง และไปใช้ที่เหลือได้หรือไม่ เพราะเมื่อไม่มีความชัดเจน ผู้ที่ไปรับบริการก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องทำยังไง การเกิดสุญญากาศอย่างนี้ ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเองของประชาชนลดลง

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : กรมอนามัย แนะ ป้องกันฟันผุ ต้องเริ่มตั้งแต่แรกเกิด