บิตคอยน์ดิ่งหนักกว่า 4% เคลื่อนไหวที่ 27,615.8 ดอลล์

บิตรอน์เทรดที่เว็บอินเวสต์ท้วงติง ดอท คอม เมื่อเวลา 05.34 น.ของวันนี้ (9เดือนพฤษภาคม)ปรับนิสัยหล่นลง 4.02% เคลื่อนที่ 27,615.8 ดอลลาร์การเคลื่อนไหวในดินแดนลบของราคาบิตรอน์ตอนเวลาเช้าวันนี้มีขึ้นภายหลังจากไบแนนซ์

บิตคอยน์ 21

ข่าวการเงิน  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศหยุดการถอนบิตรอน์ ไบแนนซ์ประกาศยับยั้งการถอนบิตรอน์ตรงเวลา 1 ชั่วโมงวานนี้ กอนที่จะยับยั้งการถอนอีก 3 ชั่วโมงในวันนี้ โดยอ้างถึงภาวการณ์พลุกพล่านของกระบวนการทำธุรกรรมในตลาด นอกจากนั้น นักลงทุนยังมีความรู้สึกไม่ค่อยสบายใจต่อกระแสข่าวโคมลอยเกี่ยวกับการแห่ถอนบิตรอน์ออกมาจากไบแนนซ์ หากแม้มีการอธิบายว่าบิตรอน์ส่วนมากที่ถูกโอนเป็นเพียงแค่แนวทางการทำธุรกรรมข้างในของไบแนนซ์ และก็บิตรอน์ที่ถูกถอนออกไปมีปริมาณเพียงแต่ 10,000 บิตรอน์ ไม่ใช่หลัก 100,000 ตามกระแสข่าวลือ ไบแนนซ์ประกาศว่า บริษัทกำลังจัดเตรียมให้บริการถอนบิตรอน์ผ่านทางโครงข่าย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความช้าในตอนที่มีการทำธุรกรรมหลายชิ้น ก่อนหน้าที่ผ่านมา ไบแนนซ์เคยประกาศห้ามนักลงทุนกระทำฝากถอนคริปโทเคอร์เรนซีในเดือนมี.ค. โดยอ้างปัญหาติดขัดทางด้านเทคนิค

แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  หนุนใช้สกุลเงินท้องถิ่นลดผันผวน ธปท.ยันยังไม่รีบออก “เงินดิจิทัลประชาชน”

ตลาดหุ้นเอเชียทรงตัว ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดในเอเชีย

ตลาดหุ้นเอเชียทรงตัว ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดในเอเชีย

การเงิน สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่เคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยในวันอังคาร ขณะที่ดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยมองหาสัญญาณที่เกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ แต่สกุลเงินในเอเชียส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนมกราคม ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเฟด จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า สกุลเงินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำผลงานดีที่สุดตลอดเดือนมกราคม โดยเงิน เงินบาท แข็งค่า นำหน้าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้นกว่า 5% มาอยู่ที่ 32.8 บาทต่อดอลลาร์ หยวนจีน ได้รับแรงหนุนเพียงเล็กน้อยจากข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทางธุรกิจของจีน ดีดตัวขึ้นในเดือนมกราคม หลังจากที่ประเทศผ่อนคลายมาตรการต่อต้านโควิดส่วนใหญ่ เงินหยวนร่วงลง 0.1% ข่าวการเงิน แต่ยังคงใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% ในเดือนมกราคม ข้อมูลเชิงบวกของจีนยังคงบ่งชี้ว่าพื้นที่เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกำลังอยู่ในเส้นทางสู่การฟื้นตัว ซึ่งอาจเป็นลางดีสำหรับภูมิภาคในปีนี้ ค่าเงินเยนญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในค่าเงินที่ทำผลงานดีขึ้นสำหรับวันนี้ โดยเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ยอดค้าปลีก เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนธันวาคม ขณะที่โรงงานในท้องถิ่นก็ปรับลดกำลังการผลิตลงเล็กน้อย ความคาดหวังของการเคลื่อนไหวที่ดุเดือดมากขึ้นจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นทำให้เงินเยนเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนมกราคม สกุลเงินเอเชียโดยรวมเคลื่อนไหวเล็กน้อย ขณะที่ดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นหลังทุกฝ่ายต่างรอการประชุมเฟด ในขณะที่ ธนาคารกลาง ได้รับการคาดหมายอย่างกว้างขวางว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดในวันพุธ นักลงทุนต่างหวาดกลัวกับแนวโน้มที่พุ่งสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเฟดมีช่องว่างเพียงพอเพื่อขยับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกา ยังมีแนวโน้มสูงเหนือช่วงเป้าหมายของเฟด แม้ว่าจะมีการถอยกลับในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า ขานรับข้อมูลศก.-จับตาประชุมเฟด

แบงก์แห่ปล่อยกู้บ้านแลกเงิน “LTV-ดอกเบี้ย” ดันต้นทุนสินเชื่อบ้านใหม่พุ่ง

สินเชื่อบ้านปี’66 เผชิญแรงกดดัน “มาตรการ LTV-ดอกเบี้ยขาขึ้น” แบงก์หันแข่งปล่อยกู้ “บ้านแลกเงิน” ปั้นกำไรโต เหตุให้ผลตอบแทนมากกว่าสินเชื่อบ้านใหม่ 2-3% “ทีทีบี” ชี้ผู้เล่นในตลาดยังน้อย คาดมูลค่าตลาดรวม 3 แสนล้านบาท

ข่าวการเงิน นายเอกสิทธิ์ พฤฒิพลากร ผู้บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจรายย่อย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2566 นี้ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะเติบโตได้ 5-6% ต่อปี ภายใต้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่ประเมินไว้ที่ 3.9% ซึ่งโดยปกติสินเชื่อภาพรวมจะเติบโต 2 เท่าของจีดีพีอย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกโดยปัจจัยที่กดดันตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีนี้มีอยู่ 2 ประเด็นคือ 1.การยกเลิกผ่อนปรนมาตรการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ 2.ต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)“คาดว่าปีนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยบ้านต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก จากปัจจุบันเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.7-2.8% จะเพิ่มเป็น 3.50% ซึ่งถือว่ากลับไปสู่ระดับปกติในช่วง 3-5 ปีก่อน รวมถึงต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น 20-30% ส่งผลให้ราคาบ้านแพงขึ้น”นายเอกสิทธิ์กล่าวว่า จากแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นสัญญาณการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดสินเชื่อบ้านแลกเงิน (Home for cash) เนื่องจากต้นทุนการเงินของธนาคารที่เพิ่มขึ้นตามดอกเบี้ย ซึ่งกระทบต่อรายได้ ส่งผลให้ธนาคารต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยโปรดักต์บ้านแลกเงินอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% หรือบางแห่งสูงถึง 8% เมื่อเทียบกับบ้านใหม่ดอกเบี้ยเฉลี่ยเพียง 2-3% ทำให้น่าจะเห็นธนาคารหันมาเล่นในตลาดบ้านแลกเงินมากขึ้น ส่วนสินเชื่อบ้านใหม่จะเห็นผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ดีเวลอปเปอร์) ร่วมมือกับธนาคารในการปล่อยสินเชื่อบ้านแนวราบเป็นหลัก ขณะที่ตลาดรีไฟแนนซ์บ้าน ที่มีการดึงฐานลูกค้าไปมาระหว่างกัน จะเริ่มเห็นธนาคารทำดอกเบี้ย Retention มากขึ้น หรือการปรับลดดอกเบี้ยจากเดิมให้ลูกค้าที่ผ่อนชำระครบ 3 ปี เพื่อให้ลูกค้าอยู่กับธนาคาร“สินเชื่อบ้านปีนี้น่าจะยังโตต่อ แต่โตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่มี pent up demand จากช่วงโควิด-19 โดยตลาดบ้านแนวราบจะโตดีกว่าเซ็กเมนต์อื่น ส่วนปี 2566 จะมีข้อจำกัด โตกระจุกตัวในบ้านราคาสูงรวมถึงเจอปัจจัย LTV และต้นทุนการกู้ที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อบ้าน”

แบงก์แห่ปล่อยกู้บ้าน 11

นายณัฐพล ลือพร้อมชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ข่าวการเงิน  กล่าวว่า เป้าหมายสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารปีนี้น่าจะเติบโต 3-5% คิดเป็นยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ 6.8 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นการเติบโตที่เหมาะสม ภายใต้ปัจจัยความท้าทายที่ยังมีอยู่ จากปี 2565 ที่คาดว่าจะขยายตัว 5-7% ยอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นปีอยู่ที่ 6.43-6.55 แสนล้านบาท กลับมาฟื้นตัวเทียบเท่าก่อนโควิด-19“ธนาคารคงไม่ได้เน้นการเติบโตแบบหวือหวา เพราะการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง และผลตอบแทนไม่ดึงดูดใจ ส่วนหนึ่งมาจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารมีต้นทุนในการระดมทุนที่สูงขึ้น จึงจะเน้นการเติบโตแบบสมดุล โดยรักษาฐานลูกค้าบ้านใหม่ ผ่านความร่วมมือกับดีเวลอปเปอร์นอกจากนี้ แผนการเติบโตในปีนี้ ธนาคารจะเน้นการเติบโตในส่วนของสินเชื่อบ้านแลกเงิน หรือ Home For Cash เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ส่งผลให้มีลูกค้าที่ต้องการประกอบอาชีพโดยนำบ้านมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อมากขึ้น”นายณัฐพลกล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าบ้านแลกเงินเติบโต 2 หลัก โดยอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าบ้านใหม่เล็กน้อย หากเป็นราคาบ้านตั้งแต่ 1-5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 6.05% และราคาบ้านตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.3%“เรามองว่ามาตรการ LTV ที่จะหมดอายุลง จะมีผลต่อตลาดบ้านเล็กน้อย โดยจะมีผลต่อธุรกรรมบ้านหลังที่ 2 และ 3 คงไม่ได้ทำให้ตลาดไม่โตเลย แต่การโตคงไม่หวือหวา ส่วนหนึ่งมาจากฐานที่ใหญ่ในปีที่ผ่านมาด้วย”นายจเร เจียรธนะกานนท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคารทหารไทยธนชาต และกรรมการผู้จัดการ ทีทีบี คอนซูมเมอร์ กล่าวว่า ปีนี้จะเห็นตลาดแข่งขันสินเชื่อบ้านแลกเงินมากขึ้น ซึ่งเป็นการปรับกลยุทธ์รับดอกเบี้ยขาขึ้น เนื่องจากให้ผลตอบแทน (yield) สูงกว่าสินเชื่อบ้านใหม่เฉลี่ย 2-3% และเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ มีมูลค่ารวมเฉลี่ย 3 แสนล้านบาทต่อปี จากตลาดบ้านใหม่เฉลี่ย 7 แสนล้านบาท โดยยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบอยู่ที่ 4 ล้านล้านบาท“ผู้เล่นในตลาดบ้านแลกเงินยังไม่เยอะ จึงเห็นสัญญาณธนาคารเข้ามาเล่นตลาดนี้มากขึ้น เพราะตลาดบ้านใหม่ค่อนข้างฝืด เพราะลูกค้าชะลอตัดสินใจซื้อ ทั้งนี้ ทีทีบีตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อส่วนนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาท”

แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ดาวโจนส์ปิดบวก 112 จุด ได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวขึ้น

หุ้นไทยปีกระต่าย เปิดวันแรกวิ่งในกรอบ 1,660-1,680 จุด อิงทางบวก

บล.ฟิลลิป ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งตัวอิงทางบวกในกรอบ 1,660-1,680 จุด

แรงหนุนดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธันวาคมฝั่งยุโรปปิดบวกสูงสุดในรอบ 3 เดือน-นักท่องเที่ยวจีน-กลุ่มธนาคารเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย-แรงซื้อเก็งกำไรจาก january effect แนะซื้อหุ้นเด่นวันนี้ “BBL-COM7”วันที่ 3 มกราคม 2566 บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายงานแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ว่า คาดดัชนี SET Index แกว่งตัวอิงทางบวกในกรอบ 1,660-1,680 จุด แรงหนุนจากฝั่งยุโรปที่ปิดบวกจากดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธันวาคมกระเตื้องขึ้นสู่ระดับ 47.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน และบ่งชี้ว่าภาวะเลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในทางกลับกันตลาดอาจได้รับแรงกดดันเบา ๆ จากดัชนี PMI ภาพผลิตจีนเดือนธันวาคมยังคงหดตัวและปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

หุ้นไทยปีกระต่าย 16

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงขึ้นหลังจีนผ่อนคลายมาตรการควบคุมอย่างฉับพลันขณะที่หลายประเทศทั่วโลก

ซึ่งรวมถึงสหรัฐ ออสเตรเลีย แคนาดา สหราชอาณาจักร อินเดีย อิตาลี และญี่ปุ่น ได้ดำเนินมาตรการเข้มงวดขึ้นเพื่อเตรียมรองรับนักเดินทางจากจีน แม้ ECDC จะค้านการคัดกรองและจำกัดผู้เดินทางจากจีนก็ตามสำหรับไทยหน่วยงานรัฐได้ร่วมกันพิจารณาเตรียมความพร้อมรับนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งในช่วงก่อนโควิดคิดเป็น 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทย ดังนั้นการกลับมาของจีนจะเป็นแรงหนุนในทางบวกต่อภาพรวมตลาด รวมถึงหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว เปิดเมือง และหุ้นในกลุ่มธุรกิจที่คนจีนนิยมมาซื้อสินค้าและใช้บริการ ขณะที่กลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มบวกต่อเนื่องจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับตลาดได้แรงซื้อเก็งกำไร โดยกลยุทธ์ลงทุนแนะนำธีม

แนะนำข่าวการเงิน  อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ตั้งงบปี 67 เพิ่มแสนล้าน รับรัฐบาลใหม่