ทรมานสัตว์เกินไป! บริษัทขายตู้ปลารายใหญ่ในฝรั่งเศส ประกาศเลิกขายโหลเลี้ยงปลาทรงกลม

ผู้ค้าตู้ปลารายใหญ่ในฝรั่งเศส ยุติการขายโหลเลี้ยงปลาทรงกลม ชี้เป็นการทรมานสัตว์ และทำให้ปลาตายเร็ว

ข่าวสุขภาพ  อะโกรไบโอเธอร์ส ลาบอราทัวร์ บริษัทจำหน่ายตู้ปลาและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงชั้นนำของฝรั่งเศส ประกาศเลิกขายอุปกรณ์เลี้ยงปลา ที่มีความจุน้ำน้อยกว่า 15 ลิตร และจะขายเฉพาะตู้ทรงสี่เหลี่ยมเท่านั้น เนื่องจากการจับปลาไปใส่ในโหลทรงกลมขนาดเล็ก โดยไม่มีระบบกรองอากาศและให้ออกซิเจน ถือเป็นการทรมานสัตว์อย่างหนึ่งแมทธิว ลอมโบซ์ ซีอีโอของบริษัท ระบุว่า พ่อแม่ซื้อปลาทองให้ลูก ๆ เลี้ยง โดยไม่รู้เลยว่ามันเป็นการทรมานสัตว์อย่างหนึ่ง การว่ายวนไปเวียนมาในโหลแก้วขนาดเล็ก ทำให้ปลาบ้าคลั่ง และทำให้พวกมันตายเร็วตามปกติ หากปลาทองได้อยู่ในตู้ปลาขนาดใหญ่ หรือในบ่อกลางแจ้ง มันสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานถึง 30 ปี และเมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดลำตัวได้ถึง 25 เซนติเมตร

ทรมานสัตว์เกินไป 21

แต่หากอยู่ในโหลขนาดเล็ก มันมักจะตายภายในไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน

ข่าวสุขภาพ นอกจากนี้ ปลาทองยังเป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับปลาตัวอื่นๆ ในน้ำสะอาดและเนื้อที่กว้างขวางเพียงพอ ตามสถิติของบริษัท แต่ละปี มีคนซื้อโหลปลามากถึง 50,000 โหล และเนื่องจากไม่สามารถเตือนหรือให้ความรู้ลูกค้าได้ทั่วถึง จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะเลิกขาย เพื่อตัดตัวเลือกนี้ออกไป

แนะนำทันข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : แมวกัดจมเขี้ยว ชะล่าใจแผลเล็กเท่ารอยข่วน แบคทีเรียทำอาการทรุดหนัก

กรมอนามัยเผย 10 เทคนิค ช่วยให้นอนหลับเพียงพอ

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยร่วมกับสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย

ข่าวสุขภาพ  จัดงานวันนอนหลับโลกในประเทศไทย ประจำปี 2565 ภายใต้คำขวัญที่ว่า “นอนดีมีวินัย สร้างโลกสดใส จิตใจแข็งแรง” เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงการนอนหลับที่เพียงพอและมีสุขอนามัยการนอนหลับที่ดีทุกช่วงวัยซึ่งมีผลต่อสุขภาพ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และโรคประจำตัว

กรมอนามัยเผย 16

นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า วิธีการที่ช่วยให้หลับเพียงพอและมีสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี สามารถปฏิบัติได้ตามหลัก 10 วิธี ดังนี้

ข่าวสุขภาพ 1.เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน 2.รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาที 3.ไม่นอนในเวลากลางวัน ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ควรเกิน 30 นาที 4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ก่อนนอน 2 ชั่วโมง ไม่ควรออกกำลังกาย 5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และอาหารมื้อดึก อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน 6.งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนนอน 7.นอนเตียงนอนที่สบาย อากาศถ่ายเท ไม่มีแสงเล็ดลอด และเสียงรบกวน 8.ผ่อนคลาย เพื่อลดความวิตกกังวล เช่น การนั่งสมาธิ 9.ใช้ห้องนอนเพื่อนอนเท่านั้น ไม่เล่นโทรศัพท์มือถือ หรือกินอาหารบนเตียงนอน 10.หากนอนไม่หลับภายใน 30 นาที ควรลุกไปทำกิจกรรมอื่นๆแล้วกลับมานอนใหม่อีกครั้งเมื่อง่วง

แนะนำทันข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : “นมโอ๊ต อัลโปร (Alpro)” เครื่องดื่มแพลนท์เบสอันดับ 1 จากยุโรป ที่อยากให้คุณและโลกสุขภาพดี

ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก สัญญาณเตือน ‘โรคติกส์’

สถาบันประสาทวิทยา เตือนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเอง หรือ อาการกล้ามเนื้อกระตุกเกิดขึ้นทันทีทันใด

สุขภาพ สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ และอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาได้ แนะควรได้รับการตรวจเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปโรคติกส์ เป็นโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ (movement disorders) มักพบในเด็กวัยเรียน (5 – 7 ปี) มาในรูปแบบของการเคลื่อนไหวซ้ำรูปแบบเดิมที่ไม่มีจุดประสงค์ เช่น กะพริบตา ยักคิ้ว แสยะยิ้ม พยักหน้า ยักไหล่ กระโดดหรือมีอาการกระตุกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่ควบคุมไม่ได้ โดยส่วนมากผู้ป่วยมักมีความรู้สึกภายในบางอย่างนำมาก่อนที่จะเกิดอาการเคลื่อนไหว และเมื่อเคลื่อนไหวแล้วจะทำให้ความรู้สึกนั้นหายไปเหมือนได้รับการปลดปล่อย หากผู้ป่วยพยายามบังคับไม่เคลื่อนไหวจะทำให้รู้สึกอัดอั้นไม่สบายใจ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยสามารถที่จะอดกลั้นต่อความต้องการที่จะเคลื่อนไหวผิดปกติได้ในระยะเวลาสั้นๆ (temporary suppression) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคติกส์ โรคนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิก ขาดความมั่นใจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเกิดความผิดปกติอื่นตามมา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องด้านนพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในผู้ป่วยบางรายอาจมา ในรูปแบบการส่งเสียงที่ผิดปกติ เช่น กระแอม เสียงกลืนน้ำลาย หรือกรณีที่มีอาการมากอาจเป็นลักษณะการพูดซ้ำ พูดเลียนแบบ หรือพูดคำหยาบคาย เป็นต้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการแสดงทั้งการเคลื่อนไหว และการส่งเสียงผิดปกติ จะเรียกว่าโรคทูเร็ตต์ ในโรคกลุ่มนี้อาจมีอาการของกลุ่มโรคจิตเวชนำมาก่อน เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้น เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคติกส์

ข่าวสุขภาพ อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเกิดจากโรคเฉพาะตัวบุคคลที่เกิดภายหลัง เช่น เกิดจากการติดเชื้อในสมองตอนเด็กหรือเป็นโรคออทิสติก เป็นต้น โรคติกส์ที่เกิดในผู้ใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากการ เป็นโรคติกส์ตอนเด็ก หรือผู้ป่วยบางคนมีรายงานว่าเกิดจากรอยโรค หรือเนื้องอกบางตำแหน่งในสมองได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อลดปัญหาหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาในภายหลังได้การรักษาที่ดีที่สุด คือ การปรับพฤติกรรม เพื่อลดอาการที่นำมาก่อนการเคลื่อนไหว และเพิ่มระยะเวลาที่สามารถยับยั้ง การเคลื่อนไหวหากยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ การใช้ยากลุ่มจิตเวช (anti-psychotics) เพื่อช่วยระงับการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็นทางเลือกที่มีประโยชน์ แต่ต้องติดตามผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยากลุ่มนี้ด้วย เช่น กลุ่มอาการพาร์กินสันเทียม กลุ่มอาการบิดเกร็ง เป็นต้น และควรรักษากลุ่มโรคจิตเวช (OCD,ADHA) ที่มาพร้อมโรคติกส์ด้วย เพื่อคุณภาพชีวิต ที่ดีของผู้ป่วย

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : อาหารที่แนะนำก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม